วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการทำจดหมายเวียน

การทำจดหมายเวียน
1. โดยไฟล์จดหมายต้นฉบับทำจาก MS Word 2003 และไฟล์ข้อมูลทำจาก MS Excel 2003ให้พิมพ์ข้อมูลเก็บไว้เป็นไฟล์ก่อน โดยใช้ MS Excel 2003 ดังรูปที่ 1 แล้ว Save เก็บไว้ สมมติว่าตั้งชื่อไฟล์นี้ว่า Data.xls (ข้อมูลนี้เก็บอยู่ใน Sheet1 ของไฟล์ Data.xls)




2. พิมพ์จดหมายที่จะทำจดหมายเวียน ให้พิมพ์เฉพาะส่วนที่เหมือนกันทุกฉบับ ส่วนที่เปลี่ยนไป อย่างเช่น ชื่อ ให้เว้นเอาไว้ เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้ Save เก็บไว้ สมมติว่าตั้งชื่อไฟล์ว่า Letter.1.doc






3. เลือกเมนู Tools แล้วเลือกเมนูย่อย Letters and Mailings แล้วเลือกคำสั่ง Mail Merge…


4. จะปรากฏตัวช่วยทางด้านขวามือ โดยขั้นที่ 1 เป็นการเลือกประเภทของเอกสาร ให้เลือก Letters แล้วมองลงมาข้างล่าง ให้เลือกคำสั่ง Next: Starting document



5. ตัวช่วยทางด้านขวามือจะเข้าสู่ขั้นที่ 2 เป็นการเลือกจดหมายต้นฉบับ ให้เลือก Use the current document แล้วมองมาข้างล่าง ให้เลือกคำสั่ง Next: Select recipients









6. ตัวช่วยทางด้านขวามือจะเข้าสู่ขั้นที่ 3 เป็นการเลือกผู้รับจดหมาย ให้เลือก Use an existing list แล้วคลิกคำสั่ง Browse จะปรากฏหน้าต่าง Select Data Source นั่นคือ ให้เราไปเลือกไฟล์ผู้รับ ในที่นี้คือไฟล์ MS Excel 2003 ของเราที่ชื่อว่า Data.xls นั่นเอง แล้วคลิกปุ่ม Open







7. จะปรากฏหน้าต่าง Select Table เนื่องจากข้อมูลของเราเก็บอยู่บน Sheet1 ของไฟล์ Data.xls ดังนั้นในหน้าต่างนี้ ให้เลือก Sheet1$ แล้วคลิกปุ่ม OK








8. จะปรากฏหน้าต่าง Mail Merge Recipients จะเห็นได้ว่า MS Word มองเห็นข้อมูลที่เราเลือกมาจากไฟล์ Excel ซึ่งในขั้นตอนนี้ ที่หน้าต่างนี้ เราสามารถเลือกผู้รับได้ว่า ต้องการหรือไม่ต้องการให้ส่งถึงใครบ้าง ถ้าต้องการส่ง ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ด้านหน้า เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK


9. MS Word จะปิดหน้าต่าง Mail Merge Recipients ต่อจากนี้ให้มองลงมาข้างล่าง แล้วเลือกคำสั่ง Next: Write your letter



10. ตัวเลือกทางขวาจะเข้าสู่ขั้นต่อไป คือ การเขียนจดหมาย หรือการใส่ฟิลด์ข้อมูลจาก Excel นั่นเอง ซึ่งทำได้โดย ให้คลิกคำสั่ง More items…




11. จะปรากฏหน้าต่าง Insert Merge Field ให้คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการ เนื่องจากตัวอย่างของเรา ต้องการชื่อและตำแหน่ง ดังนั้นในที่นี้ให้คลิกเลือกฟิลด์ “ชื่อ” แล้วคลิกปุ่ม Insert แล้วเลือกฟิลด์ “ตำแหน่ง” โดยทำในแบบทำนองเดียวกัน






12. การเลือกฟิลด์ “ชื่อ” และ “ตำแหน่ง” ดังกล่าว จะทำให้ข้อความในจดหมายเปลี่ยนไป



13. ให้มองลงมาข้างล่าง แล้วเลือกคำสั่ง Next: Preview your letters


14. จะเข้าสู่ขั้นต่อไปของการทำจดหมายเวียน เป็นการ Preview ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเช่นไร




15. ตัวเลือกทางขวามือจะเปลี่ยนไป ถ้าเราเลือกข้อมูลมาดีแล้ว ขั้นตอนนี้สามารถข้ามได้เลย โดยมองลงมาข้างล่างแล้วเลือกคำสั่ง Next: Complete the merge
16. จะปรากฏว่าตัวเลือกทางด้านขวาเปลี่ยนไป โดยเข้ามาสู่ขั้นตอนสุดท้าย ในขั้นตอนนี้ขอแนะนำว่าให้เลือกคำสั่ง Edit individual letters เพื่อให้ MS Word สร้างจดหมายของแต่ละคนให้ โดยจะเป็นไฟล์ต่อเนื่องกัน มีเนื้อความเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ฟิลด์ (จาก Excel) ที่ใส่ลงไปนั่นเอง






17. เมื่อคลิกคำสั่ง Edit individual letters แล้วจะปรากฏหน้าต่าง Merge to New Document ให้เลือก All แล้วคลิกปุ่ม OK



จะ ได้ว่า MS Word จะสร้างไฟล์ใหม่ เนื่องจากขั้นตอนที่ 1 เราเลือก Letters ดังนั้น MS Word จะสร้างไฟล์ใหม่ชื่อว่า letter1.doc (อย่าสับสนกับไฟล์จดหมายต้นฉบับ letter.1.doc นะคะ) แล้วทำซ้ำจดหมายเดิม แล้วเอาค่าจากฟิลด์ใน Excel ไปแปะใส่ ทำอย่างนี้ข้อมูลครบทุกอัน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำจดหมายเวียน

ขั้นตอนการทำBlog

Blog คืออะไร
Blog ย่อมาจากคำว่า Web Log ถือว่า เป็นเว็บไซต์ สำเร็จรูป ที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่ไม่มีความรู้ เรื่องการสร้างเว็บไซต์ มีประโยชน์ มากมาย เช่น สำหรับ เขียนเรื่องราว ส่วนตัว (ไดอะรี่) เรื่องราวที่เราสนใจ เป็นพิเศษ เนื้อหา สาระ ที่มีประโยชน์ ต่างๆ เป็นต้น สำหรับเนื้อหา ในเว็บไซต์นี้จะขอกล่าว เฉพาะของ Blogger.com นะครับ เพราะที่นี่ สามารถใส่ ข้อความ , รูปภาพ , ข่าวสารจากเว็บไซต์อื่นๆ (Feed) , Link เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ ต่างๆ รวมถึง สามารถหารายได้ จากการโฆษณา (Google AdSense) ได้อีกด้วย ผู้ให้บริการ Blog ส่วนใหญ่จะให้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ใดๆ เพียงแต่ ชื่อ URL ของเว็บไซต์ จะไม่เป็นของเราโดยตรง จะมีชื่อ URL ของผู้ให้บริการ พ่วงอยู่ด้วย เช่น http://yourweb.blogspot.com การใช้งาน ง่าย สะดวก รวดเร็วในการสร้าง ไม่จำกัด ว่าเราจะเปิดใช้บริการ กี่ Blog ก็ได้ แค่มี E-mail ก็สามารถเปิดใช้บริการ Blog ได้แล้ว รายละเอียด จะขอกล่าวถึงใน ตอนต่อไป

บล็อกฟรีที่นิยมใช้
1. http://www.blogger.com/
2. http://www.bloggang.com/
3. http://www.o2blog.com/

วิธีการสร้างบล็อก
1. วิธีการสร้างบล็อกของ blogger.com คลิก!!!
2. วิธีการสร้างบล็อกของ bloggang.com คลิก!!!

สร้างเว็บบล็อก(Blogger) (ถ้ามีเว็บภาษาอังกฤษแล้วข้ามขั้นตอนนี้ครับ)


1.เข้าไปที่ http://www.blogger.com/จะแสดงหน้าจอแบบนี้

ให้คลิกที่ สร้างเว็บบล๊อกของท่านเดี๋ยวนี้ ดังรูป



2.เมื่อท่านคลิกนี้ จะปรากฎดังรูปด้านล่าง



3. ให้ใส่รายละเอียดดังรูป
-ที่อยู่อีเมล : (จากที่ท่านได้สมัคร Gmail มาแล้วก่อนหน้านี้)
-Enter Password : (ใส่รหัสผ่าน)-พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง
-Displya name (ตั้งชื่อที่จะให้แสดงตอนโพสเว็บบล็อก)
-พิมพ์ตามอักษรที่ปรากฎให้ถูกต้อง
-คลิกดำเนินต่อไป



4.จากนั้นให้ตั้งชื่อ เว็บบล็อกของท่าน
-คลิกที่ตรวจสอบ เพื่อตรวจเช็คดูว่า มีใครใช้ชื่อนี้
ไป หรือยัง ถ้ามีแล้วระบบจะแจ้งเตือนว่าใช้ไม่ได้ และจะมีตัวเลือกให้เราโดยอัตโนมัต ถ้าชอบใจตัวไหน ก็คลิกที่ชื่อด้านล่างตัวนั้นได้ แต่ถ้าต้องการชื่ออื่นอีกก็ตรวจสอบจนกว่าจะได้ชื่อที่คุณพอใจ เมื่อได้ชื่อตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป




5. จากนั้นจะเข้าสู่การเลือกแม่แบบว่า เราต้องการเว็บบล็อกรูปแบบไหน มีให้เลือกมากมายตามต้องการสามารถคลิกเพื่อดูตัวอย่างแม่แบบได้ เมื่อได้แม่แบบตามที่เราชอบแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป



ต่อ ไปกดเริ่มต้นการส่งบทความทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า Google AdSense ยังไม่รองรับเว็บไซต์ภาษาไทย แต่ในอนาคตคาดว่า ทาง Google AdSense จะยอมรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย ดังนั้น ควรนำเว็บบล็อกที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษมาทำการสมัครให้ผ่านก่อน โดยไปหาเนื้อหาภาษาอังกฤษ ได้ที่นี่ โดยคุณควรจะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

http://en.wikipedia.org/wiki/Main_page

http://www.goarticles.com/

http://www.contentmart.com/

http://www.superfeature.com/

http://www.freshcontent.net/



ถึงตอนนี้คุณก็จะมีบล็อกส่วนด้วยไว้ทำเงินกับกูเกิลอย่าลืมจดจำคือ
1.อีเมลล์ของ gmail
2.URL เว็บบล็อก เช่น http://makemoneynetonline.blogspot.com/
พักเหนื่อยกันซักครู่หายเหนื่อยได้ไปต่อกัน ครับ

การเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน

การสมัครงานเหมือนกับการไปเสนอขายสินค้าซึ่งจำเป็นจะต้องเตรียมตัวให้ดี และการเตรียมตัวก่อนสมัครงานเป็นสิ่งจำเป็น จะต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนจบ การศึกษา ซึ่งในแต่ละปี แต่ละสถาบันจะมีผู้จบการศึกษาทั่วประเทศ รวมกันแล้วประมาณแสน ๆ คน และรวมกับผู้ที่ตกค้างจากปีก่อน ๆ ที่ยังไม่ได้งานทำมี อีกมาก และความเชื่อที่ว่าเรียนเก่งหรือเรียนดีแล้วจะหางานง่ายนั้นอาจจะไม่เป็น จริงเสมอไป ซึ่งในยุคปัจจุบันการรับคนเข้าทำงานในทุกวันนี้จะพิจารณา สิ่งอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น บุคลิกภาพ ความคล่องตัว ความอดทน ความเป็นคนมีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นต้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในการหางาน ทำหรือสมัครงาน จึงเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดี และควรทำ เข้าทำนองที่ว่า "ฟอร์มดี มีชัยไปกว่าครึ่ง" ซึ่งการไปหางานหรือการไปสมัครงานเปรียบ เสมือนกับคุณเป็นเซลล์แมน หรือเซลล์วูแมน ที่จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน โดย คุณจำเป็นจะต้องมีเทคนิค วิธีการต่างๆ ที่ทำให้ผู้ซื้อ สินค้า (นายจ้าง) พร้อมที่อยากจะได้สินค้า (ตัวคุณ) เอาไว้ ถ้าคุณทำได้ โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จในการหางานทำมีมาก ดังนั้นถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ต้องการตกอยู่ในสถานการณ์ว่า "ตกงาน" ก่อนหางานทำ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้
1. ค้นพบตัวเองให้ชัดเจน
ทำไมจึงต้องมีการรู้จักตนเอง ก็เพราะการหางานคือการ "ขาย" ตนเองชนิดหนึ่ง เป็นการเสนอขายความรู้ ความ สามารถของตัวเราเองให้แก่บริษัท หรือองค์กรใด องค์กรหนึ่งนั่นเอง ใครขายเก่งหรือมีศิลปะในการขาย สามารถทำให้ผู้ ซื้อเกิดความรู้สึกอยากได้ "สินค้า" ชนิดนี้ก็จะได้งานไปทำ
แต่การที่จะขายของอะไรได้นั้น เราจำเป็นจะต้องรู้คุณภาพสินค้าเสียก่อน (รู้จักตัวเราเอง) เราจึงจะขายให้ใครเขา ได้ ถ้าเราไม่รู้แม้กระทั่งสินค้านั้นมี คุณภาพอย่างไร มีจุดเด่นอะไร อยู่ตรงไหน ใช้แล้วได้ประโยชน์อะไร ใครเขาจะมาซื้อ (นายจ้าง)
ดังนั้น การสมัครงานก็เช่นกัน ถ้าคุณไม่รู้แม้กระทั่งว่าในตัวคุณมีจุดเด่น ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ หรือพูดง่าย ๆ ว่าคุณเก่งทางด้านไหน และคุณจะไป โน้มน้าว ให้คนอื่นเขามาชื่นชม และต้องการคุณได้อย่างไร

ขั้นตอนแห่งค้นพบตัวเอง
1. การค้นหาทักษะ (Skills)
เป็นความสามารถที่ต้องมีและเป็นรากฐานในการทำงานทุกชนิด ไม่มีงานชนิดไหนที่ไม่ต้องใช้ทักษะ โดยทักษะ จะแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
(1) ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการขับรถ พูดภาษาต่างประเทศ
(2) ทักษะที่ติดตัวที่ติดตัวเรามาและสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่น การวาดรูป ร้องเพลง
(3) ทักษะที่ได้จากสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน เช่น ทักษะการเข้ากลุ่มเพื่อน ทักษะการเป็นผู้นำ
ซึ่งในงานแต่ละชนิดเมื่อจำแนกหน้าที่ของงานออกแล้วจะต้องประกอบด้วย กิจกรรมหลายอย่าง ซึ่งแต่ละ กิจกรรมก็จะประกอบไปด้วยทักษะมากมาย เช่น อาชีพครู มีกิจกรรมทางด้านการสอน บริหาร ค้นคว้า ทักษะมีทั้งการพูด การออกคำสั่ง การฟัง การแสดงออก และการเขียน เป็นต้น
2. การสำรวจจุดเด่นของตนเอง
จุดเด่นของคุณมีผลต่อการหางานมากพอๆ กับทักษะ จุดเด่นนี้เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพ ที่ทุกคนมี งานทุกชนิดต้องการคนที่มีบุคลิกบางอย่างที่เด่น เป็นเฉพาะ เช่น งานประชาสัมพันธ์ คุณควรมีบุคลิกภาพที่เขากับคนง่าย รู้จักจัดการเกี่ยวกับคน หรือพนักงานบัญชี คุณก็ควรมีบุคลิกภาพที่ละเอียดรอบคอบ เป็นต้น
3. สำรวจความสัมฤทธิ์ผลทั่วไป
ความสัมฤทธิ์ผลนี้คือ เป็นความรู้สึกประทับใจความสำเร็จไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม โดยให้นึกถึงสิ่งที่คุณทำแล้วสำเร็จ และประทับใจเหล่า นั้นมาสัก 4 - 5 เรื่อง และเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นผลสัมฤทธิ์ของคุณ และนำมาเขียนเป็นผลสรุปของคุณ เก็บไว้เป็นข้อมูลไว้เป็นองค์ประกอบในการสมัครงาน ด้านหนึ่ง
4. สำรวจความชอบ / ไม่ชอบ
เป็นขั้นตอนของการลองกลับไปคิดทบทวนใหม่อีกครั้งถึงประสบการณ์สมัยอยู่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย หรือช่วงชีวิตที่ผ่านมามีอะไรที่เกิดขึ้นใน ช่วงเหล่า นั้น ที่คุณชอบและไม่ชอบใจบ้างไหม เช่น คุณอาจจะจำครูที่ดุอย่างขาดเหตุผล คุณแม่ที่เคร่งครัดและเจ้าระเบียบ เพื่อนที่เจ้าอารมณ์ ขอให้จำบุคลิก ลักษณะ ของบุคคลที่คุณไม่ชอบนี้ไว้ด้วย คุณจะได้รู้ว่าบุคคลประเภทใดที่คุณอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข
5. สำรวจขีดจำกัด
คนเราทุกคนไม่มีความสมบูรณ์ดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง ทุกคนต้องมีข้อบกพร่อง ซึ่งมันอาจเป็นจุดอ่อนที่ยังแฝงอยู่ในบุคลิกภาพของคุณในปัจจุบัน จุดอ่อนที่จะ เป็นตัวขัดขวางทำให้คุณไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยคุณจะต้องพยายามทำความรู้จักกับทุกส่วนของบุคลิกคุณอย่างแท้จริง และนำมา เป็นจุดแก้ไข ปรับปรุง หรือเป็นข้อควรระวัง เพื่อคุณจะไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ เช่น คุณอาจเป็นคนที่มีความคิดอ่านที่ดีสมัยอยู่โรงเรียนมัธยม แต่ คุณมักไม่กล้า แสดงตัวหรือแสดงความคิดเห็นให้ ปรากฏ ทำให้คนอื่นรับหน้าที่แทนคุณไป แสดงว่าคุณมีจุดอ่อน คือ ขาดความกล้า หรือไม่มีลักษณะเป็นผู้นำ คุณก็นำข้อ นี้ไปปรับปรุงและพัฒนา หรือถ้าไม่ไหวจะเป็นผู้นำก็ต้องหางานในตำแหน่งที่ไม่ ต้องแสดงความเป็นผู้นำ ดังกล่าว
6. สำรวจค่านิยม
ค่านิยม คือสิ่งที่เรายึดถือว่า ดี งาม สมควรปฏิบัติ เช่น ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความปลอดภัย ความเสียสละ ซึ่งถ้าคุณคิดเพียงว่าแต่ขอ ให้ได้งาน โดยไม่ตระหนักถึงค่านิยมของตัวเองและธรรมชาติของงาน การทำงานนั้นก็จะไม่ได้รับความสุขกับการทำงาน และทำให้ต้องเข้า ๆ ออก ๆ หางาน ใหม่อยู่ ตลอดเวลา ดังนั้น การรู้จักค่านิยมของตัวเองจึงเป็นหัวใจสำคัญอีกด้านหนึ่ง ในการทำงานเพื่อความสุขของชีวิต
7. สำรวจความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น
การทำงานทุกชนิดต้องสัมพันธ์กับคน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละตำแหน่งงาน ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องเข้าใจคือ เราต้องอยู่กับคนไปตลอดชีวิต การ เข้าใจความสัมพันธ์ที่มีต่อกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกัน และทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
8. สำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่นี้ก็คือ สถานที่ตั้งของหน่วยงาน เช่น ใกล้ - ไกล การคมนาคม ต่างจังหวัด หรือกรุงเทพฯ สภาพมลภาวะต่างๆ ลักษณะงาน ซึ่งคุณจะต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับความต้องการให้เข้ากับสิ่งที่คุณได้ ตามสมควร
9. ความต้องการเกี่ยวกับเงินเดือน
ไม่ว่าตัวผู้สมัครงานจะมีประสบการณ์หรือไม่มีประสบการณ์ก็ตาม การเรียกร้องเงินเดือนเท่าใดนั้น คุณควรจะต้องไปทำการค้นคว้าว่าโดยทั่ว ๆ ไป บุคคลที่จบการศึกษาระดับเดียวกันกับคุณหรือ ผู้ที่ทางบริษัทที่รับเข้ามาในตำแหน่งที่คล้ายกับ ที่คุณสมัครนั้นเขาได้รับเงินเดือนประมาณเท่าใด ซึ่งส่วนใหญ่ ถ้าเป็นงานราชการเงินเดือน จะต้องเป็นไปตามวุฒิที่ทางการกำหนด ไม่มีการต่อรอง แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนหรือ รัฐวิสาหกิจอาจมีอัตราการจ่ายเงินที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาด ความมั่นคงของบริษัท และระบบการบริหารของบริษัท


2. การติดตามข่าวสาร
สิ่งที่คนหางานจะต้องตระหนักก่อนสิ่งอื่นใดก็คือ คุณจะต้องมีความกระตือรือร้นขวนขวายหา ข่าวสารด้วยความสนใจอย่างจริงจัง เพราะช่วงเวลา ของการโฆษณารับสมัครงานของ แต่ละองค์กรล้วนมีระยะเวลาจำกัด บางองค์กรก็จะระบุวันหมด เขตรับสมัครเอาไว้ ทำให้เมื่อวันเวลาผ่านไป โอกาสในการ สมัครงานแล้วได้รับการคัดเลือกไปสัมภาษณ์ย่อมน้อยลงด้วย เนื่องจากในแต่ละปีมีบัณฑิต จบใหม่จากสถานศึกษา ที่ผลิตออกมาอย่างไม่ขาดสาย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงต้องขวนขวายที่จะ หาข้อมูลข่าวสารการรับสมัครงานให้มากที่สุด
เมื่อคุณได้ข่าวสารการรับสมัครงานและคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสมัครได้ รวมทั้งคุณพอใจที่ จะ ทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ คุณก็ควรจะสมัครให้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องรีรอทั้ง ๆ ที่คุณ มีความพร้อมในเรื่องเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการสมัครงานตามที่ระบุไว้ ตรงกันข้ามกลับ เป็นผล ดีกับตัวคุณเสียอีก เพราะองค์กรที่รับ สมัครงานจะเห็นความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่น และความต้องการ ทำงานของคุณอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้รับ สมัครพึงพอใจที่คุณให้ความสนใจกับองค์กร นั้นมากกว่าผู้สมัคร รายอื่น ๆ ที่รอจนเกือบ หมดเขตรับสมัครแล้ว จึงค่อยไปสมัคร นอกจากนั้น การส่งใบสมัคร ไปตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้คุณมีข้อได้เปรียบกว่าคนอื่นในกรณีที่คุณส่งใบสมัครไปทาง ไปรษณีย์แล้วเกิดความล่าช้า ก็อาจเป็นไปได้ว่า ใบสมัครงานหรือจดหมาย สมัครงาน ของคุณไปถึงที่หมายภายหลังหมดเขครับสมัครงาน โอกาสที่คุณจะได้งานก็จะลดลงตามไปด้วย
คุณทราบหรือไม่ว่ามีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการสมัครงานแนะนำว่า คนเราถ้าทำงานออฟฟิศเราจะ ต้อง ใช้ เวลาทำงานอยู่ในออฟฟิศถึงวันละ 7 - 8 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นคุณก็ควรจะสมัครงานด้วยจดหมาย สมัครงาน หรือกรอกแบบฟอร์มการสมัครงานและส่งใบสมัครงานให้ได้อย่างน้อยชั่วโมงละ 1 ราย หรือวัน ละ 7 - 8 ราย ในตำแหน่งงานที่คุณมีคุณสมบัติ ครบถ้วน และมั่นใจว่าคุณพอใจจะทำงานในตำแหน่งนั้นๆ ถ้าคุณได้รับการคัดเลือก
ถ้าทำแบบนี้ได้ โอกาสที่จะได้งานของคุณย่อมมีสูงกว่าคนที่สมัครงานนาน ๆ ครั้งหนึ่ง แล้วก็คอยอยู่เฉยๆ จนกว่าจะรู้ว่าไม่มีหวังเสียแล้ว จึงค่อยลุกขึ้น แสวงหาข่าวสารรับสมัครงาน แล้วก็เริ่มหาหลักฐานใหม่ ส่งใบสมัครหรือจดหมายสมัครงานไปอีกครั้งแล้วก็รอคอยการเรียกไปสัมภาษณ ์ คุณจะต้องไม่ลืมว่า คู่แข่งของ คุณมีมากขึ้นทุกวัน แม้แต่วันเดียวก็เถอะถ้าคิดเป็นชั่วโมงอีกล่ะ และอย่าลืมว่าคู่แข่งขันของคุณจำนวนมากมีคุณสมบัติทุกอย่างเหมือนที่คุณมี ตาม เอกสารหลักฐานด้วยกันทั้งนั้น

ดังนั้นในระหว่างที่กำลังหางานทำ คุณจึงควรมีเอกสารที่ใช้สำหรับการสมัครงานไว้ให้พร้อมและทำสำเนาเอาไว้หลาย ชุดจะได้ไม่ต้องเสีย เวลาหา หลักฐาน ถ้าใครขยันแสวงหาแหล่งรับสมัครงานได้มากกว่าคนอื่น ๆ เอาแค่ขยันสมัครงานได้วันละ 4 - 5 แห่งเท่านั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ในการ หางานของคุณก็มีมากยิ่งขึ้น
3. มองหาแหล่งงาน โดยทั่ว ๆ ไป หนทางที่จะเริ่มมองหาแหล่งงานได้นั้นมีหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่สื่อมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงนี้ไม่ใช่เรื่อง ยากเลย ที่คุณจะ หาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรที่เปิดรับสมัครงาน ซึ่งคุณอาจจะเลือกดูได้จากแหล่งต่าง ๆ เหล่านี้ คือ
1. สื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ เป็นสื่อที่คนต้องการหางาน ทำมักจะมองหาเป็นอันดับแรกโดยสื่อดังกล่าวอาจจะมาในรูปของนิตยสาร รายสัปดาห์ที่ลงข่าวสารเกี่ยวกับการรับสมัครงานโดยเฉพาะ เช่น นิตยสารงานวันนี้ Smart Job หางานหาง่าย หรือมาในรูปของหนังสือพิมพ์ที่ลงโฆษณา รับสมัครงานโดยเฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์แหล่งงาน งานทั่วไทย นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบของ Section Classified ที่แทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น โลกวันนี้ The Nation Bangkok Post เป็นต้น โดยสื่อเหล่านี้จะมีข่าวสารเกี่ยวกับการ เปิดรับสมัครงานใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งนอกจากโฆษณา รับสมัครงานแล้ว ยังมีบทความต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวข้องกับการสมัครงานที่น่าสนใจอีกด้วย เรียกว่าถ้าคุณต้อง การหางานล่ะก็ สื่อสิ่งพิมพ์มีประโยชน์ต่อ คุณมากทีเดียว
2. สื่ออินเตอร์เน็ต
ในโลกยุคปัจจุบัน สื่ออินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการหางาน โดยผู้สมัครงานสามารถเข้าไปค้นหาตำแหน่งงานที่ ต้องการได้ จากเว็บไซต์หางานต่าง ๆที่มีอยู่มากมาย นอกจากจะได้ปริมาณตำแหน่งงานที่มากแล้ว เว็บไซต์เหล่านี้ยังให้ประโยชน์ในเรื่องอื่น ๆ อีก เช่น มีบทความเกี่ยว กับเทคนิคการ สมัครงาน มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนใบสมัคร และ Resume แถมยังส่งใบสมัครและ Resume ไปให้กับองค์กรทางอีเมล์ได้ทันทีอีก ด้วย
นับว่าเป็นวิธีการที่สะดวกและได้ผลดีไม่แพ้วิธีการอื่นเลย แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างว่าในประเทศไทยนั้น สื่ออินเตอร์เน็ตยังไม่ใช่สื่อหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย การสมัครงานทางเว็บไซต์นั้นจึงมีข้อจำกัดที่ว่าข้อมูลของคุณอาจไปไม่ถึง ผู้รับสมัคร เพราะว่าบางบริษัทแม้ว่า จะลงรับสมัครทางอินเตอร์เน็ต แต่อาจ จะไม่ได้นำข้อมูลของผู้ที่สมัครงานทางอินเตอร์เน็ตมาพิจารณา หรือบางครั้งก็มีความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ใบสมัคร ของคุณไม่สามารถส่งไปถึงผู้รับปลายทางได้ แต่อย่างไรก็ดี สื่ออินเตอร์เน็ตก็ถือเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบัน เราจึงได้รวบรวมเว็บไซด์เหล่านั้นไว้ให้คุณเพื่อเป็นอีกช่องทาง ในการสมัครงานของคุณ
3. ติดต่อผ่านทางสำนักงานจัดหางาน ซึ่งมีวิธีการสมัครงานทั้ง 2 แบบ คือ
- แบบตั้งรับอยู่ที่สำนักงาน โดยมีตำแหน่งงานว่างไว้ให้ดู หรือลงทะเบียนไว้ พร้อมทั้งมี นายจ้างมาขอคัดรายชื่อ และเรียกตัวสัมภาษณ์ในภายหลัง
- แบบเชิงรุกนอกสถานที่ โดยมีการจัด "วันนัดพบแรงงาน" ซึ่งข้อดีของการจัดวันนัดพบ แรงงาน คือ คุณสามารถยื่นใบสมัครได้กับนายจ้าง โดย ตรงและมีการสัมภาษณ์พูดคุย ศึกษาบุคลิกภาพและความสามารถของคุณ ทำให้คุณสามารถแสดงคุณสมบัติของคุณได้เต็มที่ ทำให้คุณมีโอกาสได้งานที่เร็ว กว่าวิธีอื่นๆ ซึ่งคุณสามารถใช้บริการของกรมการจัดหางานได้ทั่วประเทศ โดยในกรุงเทพฯ มีที่ส่วนกลาง E-Job Center และ 10 เขตพื้นที่บริการให้กับคุณ ส่วนต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ
4. หน่วยจัดหางานของมหาวิทยาลัย
แทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีหน่วยงานจัดหางานที่สังกัดอยู่ในกองกิจการนิสิต นักศึกษา ซึ่งหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางหาแหล่งงานให้นิสิต นักศึกษาทั้ง ในระหว่างฤดูร้อนและเมื่อสำเร็จการศึกษา
5. สำนักงาน ก.พ. สำหรับคุณซึ่งมุ่งเข็มมาว่าจะเป็นข้าราชการ
6. ถามจากญาติสนิทมิตรสหาย
คุณต้องประกาศให้พี่น้องญาติมิตรเพื่อนฝูงทุกคนรู้ให้ทั่วไปว่า "คุณกำลังต้องการงาน" และถ้าเขารู้ว่าที่ไหนกำลังเปิดรับสมัคร เขาก็จะได้แจ้งใน คุณทราบโดยด่วน
7. WALK IN
WALK IN คือ การเข้าไปสมัครงานในองค์การที่คุณสนใจโดยตรง โดยไม่สนใจว่าองค์กรนั้นจะเปิดรับพนักงานหรือไม่ วิธีการนี้อาจเป็นทาง เลือกที่ใช้ได้ในบางโอกาส ในกรณีที่คุณมีความต้องการทำงานในองค์กรนั้นจริง ๆ เพราะว่าองค์กรนั้นมีชื่อเสียง มีความมั่นคง สวัสดิการดี หรือคุณเป็นคน ที่มีโอกาสเลือกงานได้มากกว่าคนอื่น เพราะไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าใบสมัครของคุณอาจจะไม่ได้รับการพิจารณา ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีนโยบายที่ จะไม่รับคนในตำแหน่งที่คุณสมัครเป็นเวลานาน แต่ก็มีข้อดีคือ ถ้าคุณได้รับคัดเลือกให้มาสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์งาน แล้วคุณผ่านการพิจารณา คุณก็จะได้ ทำงานในตำแหน่งและองค์กรที่คุณต้องการจริง ๆ แต่การ WALK IN นี้ในความเป็นจริงอาจเป็นทางเลือกที่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก
4. สรุป ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการหางานอย่างมีประสิทธิภาพ
1. การวิเคราะห์เกี่ยวกับตนเอง
1.1 ย้อนไปดูทักษะตัวเราเองและเรื่องอื่น ๆ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และนำมาดูว่าคุณสมบัติต่าง ๆ นั้น คุณสามารถใช้ได้มากในงานชนิดใดบ้าง
1.2 เมื่อเลือกอาชีพได้ตรงทักษะและคุณสมบัติของคุณแล้วต้องมาดูว่า
- คุณอยากทำงานกับหน่วยงานใด (รัฐบาล/เอกชน/รัฐวิสาหกิจ) ขนาดอะไร (ใหญ่ กลาง เล็ก)
- สถาบันตั้งใหม่หรือดำเนินกิจการมานานแล้ว
- มีความก้าวหน้า (เร็ว/ช้า)
- สถานที่ตั้ง (ในเมือง/ต่างจังหวัด)
2. การวิเคราะห์หน่วยงานที่คุณสนใจ
สิ่งที่คุณควรรู้เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับบริษัทเหล่านั้น ก่อนการก้าวไปสู่ขั้นตอนสมัครงานคือ
- ความมั่นคงของบริษัท
- สวัสดิการและรายได้
- สิ่งแวดล้อมในการทำงาน
- บรรยากาศของการทำงาน
- ค่านิยมและเป้าหมายในการทำงาน
- ความก้าวหน้า

ซึ่งคุณจะเห็นแล้วว่า ซึ่งคุณจะเห็นแล้วว่า การศึกษาเกี่ยวกับบริษัทที่คุณสนใจสมัครเป็นสิ่ง จำเป็นอย่างยิ่งในการได้งานของคุณ เป็นขบวนการที่คุณจะต้องค้นคว้าสืบหา ข้อมูลให้ได้มากที่สุด ไม่แพ้การวิเคราะห์ตนเองเลย ก่อนที่คุณจะตกลงใจสมัครงาน

ขั้นตอนการสมัครงาน

ปกติการสมัครงานจะมีกระบวนการ-ขั้นตอน ดังนี้

1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน
2. การกรอกใบสมัคร
3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)
4. การเขียนจดหมายสมัครงาน
5. การสอบข้อเขียน หรือการทดสอบความสามารถ
6. การสัมภาษณ์
7. การติดตามผล

ขั้น ตอนที่ 1 2 3 และ 4 เป็นด่านที่สำคัญ ที่นักศึกษาจบใหม่ ควรให้ความระมัดระวัง ผมจะอธิบายรายละเอียดให้เฉพาะ ข้อ 1 2 3 และ 4 ส่วนข้อ 5 6 และ 7 เป็นรายละเอียดชั้นสูง หากสนใจค่อยถามมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องให้เวลาผมเขียน

โดย ปกติ เมื่อมีคำถามมา ผมต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 -7 วันในการตอบ เนื่องจากมีภารกิจงานประจำ อาจจะช้า แต่จะให้ชัวร์ และเข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้จริง

รายละเอียด ขั้นตอนการเตรียม ตัวสมัครงาน เฉพาะในการเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน การกรอกใบสมัคร การเขียนประวัติย่อ (RESUME) และการเขียนจดหมายสมัครงาน มีดังนี้


1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน

ได้แก่ การเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมบุคลิกท่าทาง ตลอดจนเตรียมหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ในการสมัครงานไว้ให้พร้อม เช่น

  • บัตร ประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบรับรองผลการศึกษา ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ประวัติย่อ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ ควรมีการ ถ่ายเอกสาร เตรียมไว้เป็นชุด ๆ หลาย ๆ ชุด เพื่อพร้อมที่จะใช้ได้ทันที
  • รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว เขียนชื่อ-นามสกุล หลังรูป
  • จดหมายรับรองการฝึกงาน (ถ้าเคยฝึกงาน)
  • หนังสือรับรองการทำกิจกรรมนิสิต
  • ใบยกเว้นการรับราชการทหาร
  • เครื่องใช้ในการกรอกใบสมัคร
  • ปากกา (ดำหรือน้ำเงิน) ยางลบ ไม้บรรทัด
  • ชื่อที่อยู่ของผู้ที่เราจะอ้างอิงถึง (ขออนุญาตเสียก่อน)
  • เสื้อผ้าชุดที่เรียบร้อยที่สุดหรือชุดที่ทำให้เรามั่นใจมากที่สุด
  • ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท-หน่วยงานที่เราต้องการสมัคร รวมทั้งลักษณะงานในตำแหน่งที่สมัคร

2. การกรอกใบสมัคร

ใบ สมัครนับเป็นเครื่องมือลำดับแรกในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน เพราะส่วนใหญ่ใช้วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากรายละเอียดในใบสมัคร เช่น กิจกรรมที่เคยทำขณะศึกษาอยู่ลักษณะของงานและความรับผิดชอบที่มีอยู่ นอกจากนี้ ผู้สัมภาษณ์ยังใช้ศึกษาเพื่อทำความคุ้นเคยกับผู้สมัครและจะเตรียมการซักถาม เพิ่มเติมถึงรายละเอียดในบางหัวข้อ ขณะทำการสัมภาษณ์ ดังนั้น ผู้สมัครจึงควรทำความเข้าใจกับใบสมัครก่อนที่จะกรอกเพื่อจะได้กรอกได้อย่าง ถูกต้องเรียบร้อยและดึงดูดความสนใจ ของผู้พิจารณาใบสมัคร

3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)
คำว่า "Resume" นี้ มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า resume ซึ่งก็มีความหมายว่า Summary แปลเป็นไทยว่า สรุป หรือ ย่อ ฉะนั้นเวลาเขียนจะใช้สะกดแบบฝรั่งเศส หรือแบบอังกฤษก็ได้ด้วยกันทั้งสองแบบ

ปัจจุบันนี้ Resume นับว่ามีความสำคัญเท่า ๆ กับจดหมายสมัครงาน (Application Letter) ก็แทบจะว่าได้ จะเห็นได้จาก ข้อความที่ลงโฆษณางานตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่าง ๆ โดยฝ่ายนายจ้างจะบอกให้ผู้สมัครส่ง Resume แนบไปพร้อม กับจดหมายสมัครงานด้วย
ดังจะดูได้จากข้อความที่ลงโฆษณา ซึ่งจะระบุโดยละเอียดว่าผู้สมัครต้องแนบเอกสารอะไร ไปพร้อมกับจดหมายนี้บ้าง เช่น

1. Please submit application letter stating expected salary, resume and a recent photo to ... (โปรดยื่นจดหมายสมัครงานพร้อมทั้งแจ้งเงินเดือนที่ต้องการ พร้อมทั้งแนบประวัติย่อและรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปที่ ....)



2. Please send handwritten application, resume, transcript and a recent photo to ... (โปรดส่งจดหมายสมัครงานเขียนด้วยลายมือแนบประวัติย่อ ผลการศึกษาและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง....)



รายละเอียดในประวัติย่อ

Resume เปรียบ เสมือนเครื่องเปิดประตูที่ดี กล่าวคือ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้โดยย่อ และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเปรียบได้กับใบโฆษณาคุณสมบัติของตนเองอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนก็ต้องให้ความสนใจ เป็นพิเศษว่าใน Resume นั้น ควรจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดอะไรบ้าง และมีระเบียบที่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

ลักษณะของ Resume ที่ดี



1). ยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ ซึ่งมีขนาด A4 (หรือประมาณ 8"x12") และ เป็นกระดาษสีขาว มีคุณภาพ แต่ถ้าเป็นนักศึกษาจบใหม่ ด้วยแล้ว ควรจะเขียนให้จบในหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น และรวมเฉพาะรายละเอียดที่จำเป็น และต่อประเด็นจริง ๆ เท่านั้น



2). อย่าใช้คำย่อในคำที่ไม่ควรย่อ เช่น วันเดือนปีเกิด ควรเขียนคำเต็ม ส่วนคำอื่น ๆ ถ้าจะย่อหรือไม่ย่อนั้น ให้ดูตามหลักสากลนิยมเป็นตัวอย่าง



3). ในกรณีที่ระบุงานอดิเรกเข้าไว้ด้วย ควรระวังว่างานอดิเรกที่เราเอ่ยถึงนั้นมีความเหมาะสมกับงานที่เราสมัครหรือเปล่า

4. การเขียนจดหมายสมัครงาน

การเขียนจดหมายสมัครงาน

ต้องพิมพ์ให้สะอาดเรียบร้อยด้วยกระดาษพิมพ์ขนาดสั้น (8x1/2" x 11") ทุกครั้ง แต่ถ้าในประกาศรับสมัครระบุให้เขียนด้วยลายมือตนเอง ก็ควรเขียนตัวบรรจง ให้อ่านง่ายสะอาดเรียบร้อยและสวยงาม


ควรมีความยาวจำกัดเพียง 1 หน้ากระดาษ
ใช้ฟอร์มการเขียนแบบจดดหมายธุรกิจ และต้องปราศจากข้อผิดพลาดใด ๆ ทั้งสิ้น
ควร กล่าวเจาะจงนามบุคคลแทนการกล่าวตำแหน่งหรือผู้เกี่ยวข้อง (คุณ...แทน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล) แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถสะกด ชื่อ-นามสกุล ได้อย่างถูกต้อง หรือไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใครก็ควรจะใช้ "ผู้จัดการฝ่ายบุคคล" หรืออื่น ๆ ที่ประกาศรับสมัครงานระบุไว้


ต้องส่งพร้อม RESUME ทุกครั้ง ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนจดหมายแนะนำหรือจดหมายสมัครงานควรที่จะทำให้นายจ้างหรือแผนกบุคคลสนใจและเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ ข้อมูลที่กล่าวนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1). คุณเป็นใคร และทำไมคุณจึงเขียนจดหมายส่งไปยังบริษัท
2). กล่าวถึงความสามารถของคุณที่คาดว่าจะมีคุณค่าต่อบริษัท
3). กล่าวถึงความสนใจของคุณที่มีต่อบริษัทโดยการพูดถึงสิ่งที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณได้สละเวลาศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับบริษัท

โดยสรุปแล้วย่อหน้าสุดท้ายของจดหมายสมัครงานมีไว้เพื่อ 1. ขอนัดเวลาสัมภาษณ์ 2. ขอฟังคำตอบจากนายจ้างหรือแผนกบุคคล 3. บอกว่าคุณจะติดต่อภายหลัง

โปรดจำไว้เสมอว่าจดหมายสมัครงานต้องส่งควบคู่กับ RESUME ทุกครั้ง

ขอให้โชคดี

หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ

แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)


ชื่อหลักสูตร หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ

แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

Bachelor of Business Administration Program in Business Computer
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม :
ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

Bachelor of Business Administration (Business Computer)
ชื่อย่อ :
บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

B.B.A. (Business Computer)

จุดประสงค์เฉพาะ

1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้าน ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม

คุณสมบัติเฉพาะโปรแกรมวิชา


โครงสร้างหลักสูตร

มี หน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้

1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 49 หน่วยกิต
3. หมวดเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


รายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ

1. กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1บังคับ เรียน 24 หน่วยกิต


ที่
รหัสวิชา
รายชื่อวิชา
หน่วยกิต
1 1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
2 3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3 3504101 จริธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
4 3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
5 3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
6 3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
7 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
8 4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)

1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

ที่
รหัสวิชา
รายชื่อวิชา
หน่วยกิต
1 3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
2 3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3 3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4 3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
5 3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
6 35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
7 4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
8 4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
9 4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
10 4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 3(2-2)
11 4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
12 4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
13 4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
14 4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
15 4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
16 4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
17 4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
18 4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
19 4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
20 4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
21 4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
22 4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
23 4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
24 4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
25 4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
26 4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
27 4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
28 4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
29 4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
30 4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
31 4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
32 4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)

ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏ แล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ตาม 12 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้

ที่
รหัสวิชา
รายชื่อวิชา
1 3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1
2 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3 3521101 การบัญชี 1
4 3521102 การบัญชี 2
5 4112105 สถิติธุรกิจ
6 3531101 การเงินธุรกิจ
7 3541101 หลักการตลาด

ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่ สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน

2.กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ
บังคับ เรียน 9 หน่วยกิต

ที่
รหัสวิชา
รายชื่อวิชา
หน่วยกิต
1 3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
2 3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3 3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)

ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3)สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชา ที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน

3.กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต

ที่
รหัสวิชา
รายชื่อวิชา
หน่วยกิต
1 3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(0-90)
2 3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(0-210)

หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ให้ เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการ สำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้

แหล่งอ้างอิง www.bsru.ac.th

"